บทความต้องรู้

เพราะรอยยิ้มของคุณ คือความสุขของเรา

ไฟฉุกเฉินหรือไฟผ่าหมาก ควรเปิดตอนไหน ใช้อย่างไรไม่ผิดกฎหมาย

18/มิ.ย./2564

        รู้หรือไม่ว่าความจริงแล้วเจ้าไฟฉุกเฉิน มีหลักการใช้งานให้ถูกต้องที่ควรจะต้องศึกษาให้แน่ชัด เนื่องจากการเปิดไฟให้สัญญาณแบบผิด ๆ อาจจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุถึงขั้นเสียหายร้ายแรงได้
สัญญาณไฟฉุกเฉิน (hazard lights) หรือที่หลายคนอาจเรียกว่าไฟผ่าหมาก เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือสำคัญที่ถูกติดตั้งอยู่ในรถยนต์ทุกคัน ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว สวิตช์สัญญาณจะเป็นปุ่มสีแดงหรือสีดำ และมีสัญลักษณ์รูปสามเหลี่ยมอยู่บนปุ่ม มักจะติดตั้งอยู่บริเวณใกล้กับจอเครื่องเสียงหรือช่องแอร์ เมื่อต้องการใช้งานแค่เพียงกดไปที่ปุ่มนี้ก็จะเกิดไฟกะพริบขึ้นทั้งสี่มุม (ไฟเลี้ยว) ที่รถของเรา สัญญาณไฟฉุกเฉินนอกจากจะอยู่ในรถยนต์แล้ว ปัจจุบันอาจพบเห็นไฟฉุกเฉินในรถมอเตอร์ไซค์บิ๊กไบค์ได้เช่นกันนะคะ
การใช้สัญญาณไฟฉุกเฉินหรือไฟผ่าหมากอย่างถูกต้องเหมาะสมนั้น แม้ตัวกฎหมายจะไม่ได้ระบุแบบเจาะจง แต่ก็อธิบายให้เราเข้าใจได้ว่าควรใช้ไฟฉุกเฉินเมื่อรถเสียหรือประสบเหตุที่ทำให้ไม่สามารถเคลื่อนย้ายรถได้ จึงต้องใช้สัญญาณไฟฉุกเฉินเพื่อเตือนผู้ร่วมทางคนอื่น ๆ ให้ระมัดระวัง 

        นอกจากนี้ยังสามารถใช้ไฟฉุกเฉินในกรณีที่เจอสิ่งกีดขวางหรือเกิดอุบัติเหตุเพื่อเตือนรถที่ขับตามหลัง ซึ่งในรถยนต์รุ่นใหม่ ๆ ระบบไฟฉุกเฉินจะติดอัตโนมัติเมื่อเหยียบเบรกอย่างกะทันหัน และอีกกรณีที่ใช้ไฟฉุกเฉินได้เช่นกันก็คือหากต้องจอดรถบริเวณไหล่ทางเป็นการชั่วคราวไม่ว่าจะด้วยเหตุใดก็ตามค่ะ

        สำหรับประเทศไทยนั้นไม่ได้มีกฎหมายว่าด้วยเรื่องการใช้สัญญาณไฟฉุกเฉินโดยตรง ทว่ามีตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งระบุไว้ในกฎกระทรวงกำหนดส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์สำหรับรถ พ.ศ. 2551 ข้อ 3 (28) ที่กำหนดให้รถแต่ละประเภทต้องมีอุปกรณ์ แสงสัญญาณเตือนอันตราย มีระบบควบคุมที่แยกจากโคมไฟเลี้ยว และเมื่อให้สัญญาณเตือนอันตราย โคมไฟเลี้ยวทุกดวงต้องกะพริบพร้อมกัน
        นอกจากนี้ยังมีพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ระบุไว้ในมาตรา 56 ว่า ในกรณีที่เครื่องยนต์หรือเครื่องอุปกรณ์ของรถขัดข้องจนต้องจอดรถในทางเดินรถ ผู้ขับขี่ต้องนำรถให้พ้นทางเดินรถโดยเร็วที่สุด ในกรณีตามวรรคหนึ่ง ถ้าจำเป็นต้องจอดรถอยู่ในทางเดินรถ ผู้ขับขี่ต้องจอดรถในลักษณะที่ไม่กีดขวางการจราจร และต้องแสดงเครื่องหมายหรือสัญญาณตามลักษณะและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
แน่นอนว่าการใช้สัญญาณไฟฉุกเฉิน รวมถึงสัญญาณไฟและสัญญาณเสียงประเภทอื่น ย่อมจะเพิ่มความปลอดภัยให้กับทั้งผู้ขับขี่และผู้ร่วมทางบนท้องถนน ดังนั้น การศึกษาและทบทวนให้เข้าใจถึงหลักการใช้งานอย่างถูกต้องจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งค่ะ
หากใครที่กำลังมองหาร้านรถยนต์มือสอง ให้คิดถึงเรา คุ้มค่าคุ้มราคา อนุมัติไว ผ่อนสบาย ฟรีดาวน์ รถมือสองพัทยา รถมือสองชลบุรี เต็นท์รถมือสองที่ใหญ่ที่สุดในพัทยา รถมือสองสภาพสวย สภาพนางฟ้า ไม่ว่าจะเป็น รถเก๋ง รถกระบะ รถครอบครัว ต้องที่นี่ “ไมค์ คาร์ เเกลเลอรี่” เท่านั้น!!!
ปล.สนใจซื้อตอนนี้มีโปรโมชั่นดีๆรออยู่
 

บทความอื่นที่ใกล้เคียง

เพราะรอยยิ้มของคุณ คือความสุขของเรา

ลมยางรถยนต์ควรเติมเท่าไหร่จึงจะดีที่สุด

รถแต่ละประเภทหรือแต่ละรุ่นเติมแรงดันลมยางไม่เท่ากัน จึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามโดยเด็ดขาดเลยนะคะ แรงดันลมยางที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการเติมลมยางรถเก๋งนั้นจะอยู่ที่ประมาณ 30-32 PSI (ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) สำหรับล้อหน้าและล้อหลัง แต่ถ้าหากต้องบรรทุกน้ำหนักมาก เช่น กรณีที่มีผู้โดยสารเต็มทั้ง 5 ที่นั่ง หรือบรรทุกของด้านหลังจนเต็ม อาจเพิ่มปริมาณการเติมได้ถึง 33-35 PSI เนื่องจากน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้น ส่วนแรงดันลมยางที่เหมาะสมที่สุดสำหรับรถกระบะนั้นจะค่อนข้างใช้ลมยางที่มากกว่ารถเก๋งโดยสารตามปกติ โดยสำหรับล้อหน้าแรงดันยางจะอยู่ที่ประมาณ 36-38 PSI และล้อหลังที่ 40-42 PSI แต่ถ้าหากบรรทุกของเต็มท้ายรถ ก็สามารถเพิ่มปริมาณการเติมลมเพื่อรองรับน้ำหนักได้มากถึง 47-51 PSI เลยทีเดียวค่ะ

scroll up