บทความต้องรู้

เพราะรอยยิ้มของคุณ คือความสุขของเรา

7 สัญญาณแจ้งเตือนสำคัญบนแผงหน้าปัด

04/เม.ย./2566

            โดยปกติบนแผงมาตรวัดจะมีไฟเตือนต่างๆ ซึ่งจะทำให้เราทราบข้อมูลที่สำคัญที่เกี่ยวกับการทำงานของรถยนต์  ซึ่งทั่วไปแล้ว เมื่อสตาร์ทเครื่องยนต์แล้ว ไฟเตือนหน้าปัดทั้งหลายจะดับลง แต่ถ้ามีไฟโชว์หน้าปัดติดขึ้นขณะขับขี่ คุณจะเข้าใจถึงการเตือนหรือไม่ เพราะไฟเตือนหน้าปัดบางดวงนั้น เตือนความปกติมากกว่า 1 หน้าที่ วันนี้ #ไมค์คาร์แกลเลอรี่จะพาทุกท่านลองมาศึกษาถึงความหมายของไฟเตือนหน้าปัดเหล่านี้กันดู

ไฟเตือนระบบเครื่องยนต์ทำงานผิดปกติ

            ไฟเตือนนี้จะสว่างเป็นเวลา 2-3 วินาที เมื่อบิดสวิตช์จุดระเบิดไปตำแหน่ง ON ถ้าไฟเตือนนี้สว่างขึ้นในเวลาอื่น แสดงว่าระบบควบคุมไอเสีย และเครื่องยนต์อาจมีปัญหา แม้ท่านจะไม่รู้สึกถึงความผิดปกติของสมรรถนะของเครื่องยนต์เลยก็ตาม แต่อาจเป็นสาเหตุให้รถกินน้ำมันเชื้อเพลิงผิดปกติ และเกิดมลพิษมาก การให้เครื่องยนต์ทำงานต่อไปจะทำให้เครื่องยนต์เสียหายรุนแรงได้

            ถ้าไฟเตือนนี้สว่างขึ้นขณะขับรถ ให้นำรถเข้าจอดในที่ปลอดภัยแล้วดับเครื่องยนต์ สตาร์ทเครื่องยนต์ใหม่ และสังเกตดูสัญญาณไฟเตือนเครื่องยนต์ทำงานผิดปกติ ถ้ายังสว่างอยู่นำรถเข้าศูนย์บริการ เพื่อตรวจหาสาเหตุโดยเร็ว ระหว่างนั้นควรขับขี่ด้วยความนุ่นนวล หลีกเลี่ยงการเร่งเครื่องยนต์อย่างรุนแรง และไม่ใช้ความเร็วสูง

ไฟเตือนแรงดันน้ำมันเครื่องต่ำ

            ไฟเตือนนี้จะดับลงเมื่อเครื่องยนต์ติด ระหว่างที่เครื่องยนต์ทำงานไฟเตือนนี้ไม่ควรสว่างขึ้นมา ถ้าไฟเตือนนี้เริ่มกระพริบแสดงว่าแรงดันน้ำมันเครื่องลดลง และกลับสูงขึ้นเป็นช่วงจังหวะ ถ้าไฟเตือนนี้สว่างขณะเครื่องยนต์ทำงาน แสดงว่าแรงดันน้ำมันเครื่องต่ำ  จะทำให้เกิดความเสียหายรุนแรงกับชิ้นส่งนในไม่ช้า ดับเครื่องยนต์ทันทีที่คิดว่าปลอดภัย เปิดฝากระโปรงเพื่อตรวจระดับน้ำมันเครื่อง ถึงแม้ระดับน้ำมันเครื่องกับแรงดันน้ำมันเครื่องจะไม่มีส่วนสัมพันธ์กันโดยตรง แต่เครื่องยนต์ที่มีระดับน้ำมันเครื่องต่ำมาก ๆ อาจทำให้แรงดันน้ำมันเครื่องต่ำลง เมื่อรถเข้าโค้งหรือการขับขี่ในสภาวะผิดปกติอื่นๆ  ถ้าจำเป็นให้เติมน้ำมันเครื่องจนระดับถึงขีดสูงสุดบนก้านวัด สตาร์ทเครื่องยนต์ แล้วสังเกตดูไฟเตือน ถ้าไฟเตือนหน้าปัดไม่ดับภายใน 10 วินาที ให้ดับเครื่องยนต์ แสดงว่ามีชิ้นส่วนที่ต้องได้รับการซ่อมแซมก่อนที่จะขับขี่รถต่อไป

ไฟเตือนระบบประจุไฟ

            ถ้าไฟเตือนนี้สว่างจ้า ขณะเครื่องยนต์ทำงาน แสดงว่าระบบประจุไฟไม่มีการประจุไฟ หรือชาร์ทเข้าแบตเตอรี่ ปิดสวิตช์อุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมดทันที เช่น วิทยุ, เครื่องปรับอากาศ, วงจรละลายฝ้า ฯลฯ พยายามไม่ใช้อุปกรณ์ที่ทำงานด้วยไฟฟ้าอื่นๆ เช่น กระจกไฟฟ้า ให้เครื่องยนต์ทำงานต่อไป และระมัดระวัง อย่าให้เครื่องยนต์ดับ การสตาร์ทเครื่องยนต์จะทำให้ไฟจากแบตเตอรี่หมดอย่างรวดเร็ว

            การตัดการใช้กระแสไฟของอุปกรณ์ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ จะสามารถขับขี่รถไปได้หลายกิโลเมตรก่อนไฟแบตเตอรี่หมด จนไม่อาจทำให้เครื่องยนต์ทำงานอยู่ได้ นำรถเข้าปั๊มน้ำมัน หรืออู่รถที่สามารถซ่อมระบบประจุไฟฟ้าได้ อาจเกิดจาก แบตเตอรี่เสื่อม หมดอายุ สายพานไดชาร์ทขาด หรือหย่อน และไดชาร์ทชำรุด

ไฟเตือนเบรกมือและระบบเบรก

          ไฟเตือนนี้ทำหน้าที่ 2 ประการคือ เตือนให้ทราบว่า ท่านได้ดึงคันเบรกมือ หรือใช้เบรกมืออยู่ และไม่ปลดเบรกมือ การขับรถโดยลืมปลดเบรกมือจะทำให้เบรกและยางเกิดความเสียหายได้ ถ้าไฟเตือนระบบเบรกติดขึ้นในเวลาอื่น แสดงว่าระบบเบรกเกิดปัญหา ซึ่งอาจเกิดจากน้ำมันเบรกที่กระปุกน้ำมันเบรกต่ำเกินไป หรือลองสังเกตจากแป้นเบรก ถ้าเบรกแล้วรู้สึกลึกผิดปกติ อาจเกิดจากระบบเบรกรั่ว หรือการสึกหรอของผ้าเบรก อย่างไรก็ตามถ้ารู้สึกว่าแป้นเบรกผิดปกติ ระบบต้องได้รับการแก้ไขทันที และเนื่องจากระบบเบรกถูกออกแบบเป็นสองวงจร เมื่อวงจรหนึ่งเกิดปัญหาระบบยังสามารถเบรกได้ด้วยสองล้อของวงจรที่เหลืออยู่ จะมีความรู้ว่าแป้นเบรกจมลึกมากกว่าปกติ และใช้ระยะทางในการเบรกยาวขึ้น และต้องใช้แรงกดบนแป้นเบรกมากขึ้นอีกด้วย

ไฟเตือนระบบเบรกป้องกันล้อล็อค

          หรือระบบเบรก ABS จะช่วยป้องกันล้อล็อคและการลื่นไถลเมื่อทำการเบรกอย่างรุนแรง ซึ่งจะช่วยให้สามารถควบคุมรถได้อย่างปลอดภัย โดยปกติไฟเตือนนี้จะสว่างเป็นเวลา 2-3 วินาที เมื่อบิดกัญแจไปตำแหน่ง ON และ Start ถ้าไฟเตือนสว่างขึ้นในเวลาอื่นแสดงว่าระบบป้องกันล้อล็อคมีปัญหาควรนำรถเข้าตรวจเช็คที่ศูนย์บริการ และถึงแม้ไฟเตือนจะติดอยู่ในขณะขับขี่ระบบเบรกแบบธรรมดาจะยังคงทำงานปกติ แต่ระบบเบรกป้องกันล้อล็อค หรือ ABS จะไม่ทำงาน

ไฟเตือนอุณหภูมิสูง

            ไฟนี้จะสว่างเพื่อแสดงอุณหภูมิน้ำหล่อเย็นของเครื่องยนต์ ขณะขับรถต้องหมั่นสังเกตความร้อนของน้ำหล่อเย็น เมื่อขับรถขึ้นทางลาดชัน หรือใช้รอบเครื่องยนต์สูงเป็นระยะเวลานานไฟนี้อาจจะกระพริบ หรือจะกระพริบเมื่ออุณหภูมิน้ำหล่อเย็นสูงขึ้น ถ้าเห็นลักษณะดังกล่าว ต้องลดความเร็วต่ำลงเพื่อป้องกันเครื่องยนต์ร้อนจัดเกินไป แต่ถ้าไฟนี้สว่างค้าง ต้องจอดรถและตรวจสอบระบบน้ำหล่อเย็น และไม่ควรขับรถต่อไป อาจจะทำให้เครื่องยนต์เกิดความเสียหายอย่างรุนแรง

ไฟเตือนบนหน้าปัดเครื่องหมาย T-BELT

            หากสัญลักษณ์นี้โชว์ที่หน้าปัดรถยนต์ แสดงว่าสายพานรถของคุณมีปัญหา

            ส่วนใหญ่รถที่ขับไปเราจะไม่ค่อยตรวจเรื่องสายพานกันเท่าไร จึงไม่แปลกที่สายพานของคุณจะเสื่อมสภาพหรือสายพานขาด เพราะฉะนั้น ควรแก้ไขให้เร็วที่สุดและ

            เห็นไหมละครับ สัญลักษณ์ต่างๆ สำคัญอย่างยิ่ง อย่างน้อยเราควรหมั่นดูหน้าปัดว่ามีสัญลักษณ์ที่ผิดปกติแสดงขึ้นมาบ้างหรือเปล่า เพราะเมื่อเรารู้เราจะได้แก้ไขปัญหาเบื้องต้นได้ทันที ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ที่ผิดปกติกับรถเราหรือตัวเรานั้นเองครับ

บทความอื่นที่ใกล้เคียง

เพราะรอยยิ้มของคุณ คือความสุขของเรา

วิธีการเลือกรถยนต์มือสอง

ในยุคสมัยปัจจุบันนี้การจะออกรถยนต์ใหม่ป้ายแดงสักคัน อาจเป็นปัญหาใหญ่สำหรับใครหลายๆคนเนื่องจากเราทุกคนก็คงไม่ยากจะเพิ่มภาระให้ตัวเองในสภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ ผู้คนส่วนใหญ่จึงหันมามองที่ตลาดรถยนต์มือสอง เพราะว่าในราคาที่เท่ากันเราสามารถที่จะซื้อรถยนต์มือสองยี่ห้อเดียวกันรุ่นที่เหนือกว่ารถยนต์ป้ายแดงยี่ห้อเดียวกัน หรือ สามารถที่จะซื้อรถยนต์รุ่นเดียวกันในราคาที่ต่ำกว่า แต่ก่อนที่เราจะตัดสินใจซื้อเราควรมาทราบถึงวิธีการเลือกรถยนต์มือสองที่จะทำให้เราได้รถยนต์มือสองที่สภาพดีและคุ้มค่ากับราคาและลดปัญหาที่จะพบเจอจากรถยนต์มือสองที่เราตัดสินใจซื้อ โดยขั้นตอนในการเลือกและตรวจสอบรถยนต์มือสองมีตามขั้นตอนดังนี้

ลมยางรถยนต์ควรเติมเท่าไหร่จึงจะดีที่สุด

รถแต่ละประเภทหรือแต่ละรุ่นเติมแรงดันลมยางไม่เท่ากัน จึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามโดยเด็ดขาดเลยนะคะ แรงดันลมยางที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการเติมลมยางรถเก๋งนั้นจะอยู่ที่ประมาณ 30-32 PSI (ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) สำหรับล้อหน้าและล้อหลัง แต่ถ้าหากต้องบรรทุกน้ำหนักมาก เช่น กรณีที่มีผู้โดยสารเต็มทั้ง 5 ที่นั่ง หรือบรรทุกของด้านหลังจนเต็ม อาจเพิ่มปริมาณการเติมได้ถึง 33-35 PSI เนื่องจากน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้น ส่วนแรงดันลมยางที่เหมาะสมที่สุดสำหรับรถกระบะนั้นจะค่อนข้างใช้ลมยางที่มากกว่ารถเก๋งโดยสารตามปกติ โดยสำหรับล้อหน้าแรงดันยางจะอยู่ที่ประมาณ 36-38 PSI และล้อหลังที่ 40-42 PSI แต่ถ้าหากบรรทุกของเต็มท้ายรถ ก็สามารถเพิ่มปริมาณการเติมลมเพื่อรองรับน้ำหนักได้มากถึง 47-51 PSI เลยทีเดียวค่ะ

scroll up