บทความต้องรู้

เพราะรอยยิ้มของคุณ คือความสุขของเรา

รู้หรือไม่!! เมื่อไหร่ที่ควรเปลี่ยนผ้าเบรก

10/เม.ย./2566

            นอกจากปัญหาเครื่องยนต์, ช่วงล่าง ระบบเบรกรถยนต์ยังเป็นอีกเรื่องสำคัญ ที่เราจำเป็นต้องดูแล ยิ่งใช้รถระบบเกียร์อัตโนมัติก็ยิ่งทำให้เบรกมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น ระบบเบรกรถยนต์เราต้องดูแลอย่างจริงจัง และบางครั้งเมื่อรถเริ่มมีอาการก็อาจสายไปแล้ว โดยเฉพาะยุคนี้ชีวิตเราทุกคนขึ้นอยู่กับเบรกจึงเป็นสิ่งสำคัญมากกว่าสิ่งอื่นใด

            “ผ้าเบรก” อุปกรณ์สำคัญที่คนขับรถห้ามมองข้าม อีกหนึ่งส่วนประกอบของรถยนต์ที่สำคัญใช้สำหรับชะลอ หรือหยุดความเร็ว ขณะขับรถเมื่อคุณ

            เหยียบเบรก ผ้าเบรกจะดันจานเบรกเพื่อสร้างแรงเสียดทานทำให้ล้อรถชะลอตัว ด้วยสาเหตุนี้จึงทำให้ผ้าเบรกนั้นบางลงเรื่อย ๆ

 

เมื่อไหร่ที่ควรเปลี่ยนผ้าเบรกรถยนต์
            โดยปกติแล้วผ้าเบรกนั้นจะมีอายุการใช้งานเฉลี่ยที่ประมาณ 50,000 - 60,000 กิโลเมตร ซึ่งระยเวลาที่นานนี่แหละที่อาจทำให้หลาย ๆ คนมักจะลืมตรวจสอบกันว่ารถยนต์ของตัวเองใช้งานผ้าเบรกมานานขนาดไหนแล้ว หากจำไม่ได้ว่าผ้าเบรกเราใช้งานมานานขนาดไหน เราจะต้องสังเกตด้วยตัวเองว่าถึงเวลาที่ควรจะเปลี่ยนแล้วหรือยัง ซึ่งมีวิธีสังเกตง่าย ๆ ดังนี้

  • เบรกแล้วเสียงดัง

            อาการที่เห็นได้ชัดที่สุดเมื่อผ้าเบรกใกล้หมดก็ คือ เวลาเราเหยียบเบรก สังเกตได้จากทั้งเสียงและสัมผัสที่ผิดปกติ เช่น ดังเอี๊ยด ๆ หรือครืด ๆ ซึ่งหมายความว่าผ้าเบรกนั้นเริ่มมบางลงแล้ว

            หากปล่อยทิ้งไว้ให้มีเสียง และมีอาการเหล่านี้นาน ๆ อาจทำให้จานเบรกเกิดความเสียหายได้ ควรนำรถเข้าศูนย์เพื่อให้ช่างผู้เชี่ยวชาญดูแลและเปลี่ยนผ้าเบรกโดยทันที เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเอง

 

  • รู้สึกว่าเบรกมือหลวม ๆ

ปกติแล้วเวลาจอดรถยนต์ไว้กับที่ก็จะต้องเข้าเกียร์จอด แล้วดึงเบรกมือขึ้น แต่ถ้าหากเมื่อไหร่ที่รู้สึกว่า

เบรกมือหลวม ๆ จนต้องดึงสูงกว่าปกติ นั่นเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าผ้าเบรกเริ่มบางมากแล้ว ควรเข้าไปทำการเช็คโดยด่วน

  • สังเกตไฟเตือนหน้าคอนโซล

            รถยนต์หลาย ๆ รุ่นจะมีไฟเตือนหน้าคอนโซลเป็นสัญลักษณ์เตือน แสดงว่าระบบเบรกของคุณกำลังมีปัญหาแล้ว โดยอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น น้ำมันเบรกรั่ว หรือผ้าเบรกเริ่มหมดจนต้องถึงเวลาเปลี่ยน

            แต่ไม่ว่าปัญหาดังกล่าวจะเกิดจากอะไร แต่การที่สัญญาณไฟนี้ขึ้นแจ้งเตือนถือว่าระบบเบรกในรถยนต์ของคุณเริ่มมีปัญหา และอันตรายต่อการขับขี่บนท้องถนนค่อนข้างมากเลยทีเดียว เพราะฉะนั้นหากสังเกตเห็นสัญลักษณ์นี้ ให้รีบนำรถยนต์ไปเข้าศูนย์เพื่อตรวจสอบจะดีที่สุด

หลังจากเปลี่ยนผ้าเบรกมาแล้วเราก็ควรดูแล และใส่ใจ เพื่อยืดอายุการใช้งาน และความปลอดภัยของทุกคน

วิธีดูแลผ้าเบรกเบื้องต้น
1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการขับรถ

            หากคุณต้องเปลี่ยนผ้าเบรกบ่อยๆ ให้คุณลองสังเกตดูว่า ปกติแล้วคุณขับรถยังไง? ขับเร็วหรือไม่ เหยียบเบรกกะทันหัน หรือเบรกรถแรง ๆ รึเปล่า? ซึ่งถ้าหากมีพฤติกรรมเป็นแบบนั้นก็จะทำให้ผ้าเบรกของรถคุณจะสึกเร็วกว่าปกติ ซึ่งวิธีการแรกที่จะช่วยถนอม และยืดอายุการใช้งานผ้าเบรกได้ก็คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการขับรถให้เบาลง

2. ดูแลยาง ก็เหมือนดูแลเบรก

            สาเหตุที่บอกว่าดูแลยางเท่ากับดูแลเบรกก็เป็นเพราะว่า ยางรถที่สมบูรณ์และมีลมยางเพียงพอจะช่วยดูดซับแรงกระแทกเวลาเบรกและลดการเสียดสีของผ้าเบรกลงได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการดูแลรักษาผ้าเบรกทางอ้อมคุณจึงควรหมั่นเช็คลมยาง และดูแลรักษายางรถอยู่เสมอ

3. ตรวจเช็คระบบเบรกตามเวลากำหนด

            เวลาขับรถเราใช้เบรกแทบจะตลอดเวลา ดังนั้นเมื่อถึงระยะควรตรวจเช็กระบบเบรกเพื่อความปลอดภัย ตรวจเช็คเป็นประจำทุก 3 เดือน หรือเมื่อขับรถได้ 8,000-10,000 กิโลเมตร และเราจำเป็นต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรกทุกปี หรือเมื่อขับรถครบ 8,000-10,000 กิโลเมตร

4. ดูแลผ้าเบรกมากกว่าเดิม

            ทุกครั้งเมื่อคุณเปลี่ยนผ้ามาเบรกใหม่ เพื่อการใช้งานให้ยาวนานมากยิ่งขึ้น ต้องดูแลและระมัดระวังกการขับขี่และการเหยียบเบรกมากกว่าเดิม เพราะผ้าเบรกใหม่จะมีระยะเวลา ที่เรียกว่า Bedding-in ซึ่งเป็นช่วงที่รถต้องปรับสภาพหน้าผ้าเบรกให้เข้ากับจานเบรก โดยจะต้องใช้ระยะทาง

            ประมาณ 200-300 กิโลเมตร ก่อนที่ผ้าเบรกเข้าที่ ถ้าหากคุณเผลอเหยียบเบรกแรงๆ ในช่วง Bedding-in มันอาจจะส่งผลให้ผ้าเบรกและจานเบรกเสียหายได้ เพราะแบบนี้คุณจึงจำเป็นต้องระมัดระวังการเหยียบเบรกมากกว่าเดิมเมื่อเปลี่ยนผ้าเบรกมาใหม่นั่นเอง

 

ไขปัญหาคาใจ เปลี่ยนผ้าเบรกแล้วควรเจียรจานเบรกหรือไม่?

            ผ้าเบรกและจานเบรกนั้นเป็นอุปกรณ์ที่ต้องใช้ควบคู่กัน โดยปกติแล้วเวลาที่เปลี่ยนผ้าเบรกช่างมักจะแนะนำให้เจียรจานเบรกอยู่เสมอ โดยให้เหตุผลว่าไม่อย่างนั้นเบรกจะเสียงดังนะ จับถนนไม่อยู่นะ ฯลฯ

            จึงทำให้หลาย ๆ คนจึงเกิดคำถามขึ้นในใจว่าเป็นเรื่องจริงหรือเปล่า? หรือช่างแค่พูดเพื่ออยากให้เราจ่ายเงินเพื่อใช้บริการเพิ่มเท่านั้น และจำเป็นหรือไม่ที่จะต้องเจียรจานเบรก ? เงินติดล้อจะช่วยตอบคำถามนี้ให้กับคุณเอง

            โดยการตัดสินใจว่าจะเจียรหรือไม่เจียรนั้น สามารถสังเกตุได้จากการเหยียบเบรก ถ้าหากจานเบรกมีปัญหาคดงออย่างที่ช่างว่ามาจริง ๆ ขณะทำการเบรกรถของคุณจะมีการสั่น ถ้าหากสั่นรุนแรงมาจนถึงพวงมาลัยจึงควรที่จะทำการเจียร

แต่ถ้าหากว่าอาการยังไม่รุนแรงถึงขั้นนั้น เงินติดล้อก็แนะนำว่าอย่าเพิ่งเจียรจะดีกว่า เพราะถ้าหากเจียรจานเบรกบ่อย ๆ เข้าจะยิ่งทำให้จานเบรกบาง และเกิดการคดงอได้ง่ายขึ้นกว่าเดิมนั่นเอง

 

            ผ้าเบรก คือ หนึ่งในส่วนประกอบที่สำคัญต่อการขับขี่อย่างปลอดภัยบนท้องถนนเป็นอย่างมาก เพราะฉะนั้นควรหมั่นตรวจสอบผ้าเบรก และสังเกตอาการผิดปกติเหล่านี้ เพื่อที่จะได้ลดโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุต่อตัวเองและคนรอบข้าง

บทความอื่นที่ใกล้เคียง

เพราะรอยยิ้มของคุณ คือความสุขของเรา

วิธีการเลือกรถยนต์มือสอง

ในยุคสมัยปัจจุบันนี้การจะออกรถยนต์ใหม่ป้ายแดงสักคัน อาจเป็นปัญหาใหญ่สำหรับใครหลายๆคนเนื่องจากเราทุกคนก็คงไม่ยากจะเพิ่มภาระให้ตัวเองในสภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ ผู้คนส่วนใหญ่จึงหันมามองที่ตลาดรถยนต์มือสอง เพราะว่าในราคาที่เท่ากันเราสามารถที่จะซื้อรถยนต์มือสองยี่ห้อเดียวกันรุ่นที่เหนือกว่ารถยนต์ป้ายแดงยี่ห้อเดียวกัน หรือ สามารถที่จะซื้อรถยนต์รุ่นเดียวกันในราคาที่ต่ำกว่า แต่ก่อนที่เราจะตัดสินใจซื้อเราควรมาทราบถึงวิธีการเลือกรถยนต์มือสองที่จะทำให้เราได้รถยนต์มือสองที่สภาพดีและคุ้มค่ากับราคาและลดปัญหาที่จะพบเจอจากรถยนต์มือสองที่เราตัดสินใจซื้อ โดยขั้นตอนในการเลือกและตรวจสอบรถยนต์มือสองมีตามขั้นตอนดังนี้

ไส้กรองอากาศ ตรวจเช็กง่ายๆ ด้วยตัวเอง

ไส้กรองอากาศ มีหน้าที่ เปรียบเสมือนจมูกของคนเราเนี่ยแหละค่ะ หากสูดอากาศที่มีแต่เศษฝุ่นเข้ามาก ๆ ก็ไม่ดีต่อร่างกาย ไส้กรองอากาศจะค่อยดักจับฝุ่นละอองและสิ่งสกปรกไม่ให้เข้าไปภายในเครื่องยนต์ ซึ่งเมื่อใช้งานไปนาน ๆ อาจจะทำให้เกิดการอุดตัน อากาศผ่านเข้าไปในกระบอกสูบได้น้อยลง และทำให้การเผาไหม้ในห้องเครื่องยนต์ไม่สมบูรณ์ อายุการใช้งานของไส้กรองอากาศจะสั้นหรือยาว ขึ้นอยู่กับการใช้งานของแต่ละบุคคล และสภาพแวดล้อมเป็นหลัก โดยปกติทางบริษัทรถยนต์ กำหนดให้เราเปลี่ยนไส้กรองอากาศทุก ๆ 20,000-40,000 กิโลเมตร

scroll up