บทความต้องรู้

เพราะรอยยิ้มของคุณ คือความสุขของเรา

ป้ายทะเบียนรถหาย ต้องทำยังไง?

27/พ.ค./2566

            ป้ายทะเบียนรถหาย ต้องทำยังไง? เป็นเหตุการณ์ที่สามารถเกิดขึ้นได้ และเห็นอยู่บ่อยครั้งในช่วงหน้าฝนแบบนี้ เมื่อฝนตกหนักจนเกิดน้ำท่วม ก็มีผู้ขับขี่จำนวนไม่น้อยที่ต้องขับรถลุยน้ำ ฝ่าฟันจนกว่าจะถึงที่หมาย และด้วยแรงคลื่นน้ำที่ปะทะกับด้านหน้าของรถอยู่ตลอดเวลา จนอาจทำให้ ป้ายทะเบียนรถหลุดหายไปกับสายน้ำ ซึ่งผู้ขับขี่ส่วนใหญ่จะไม่รู้ตัวเลยว่า ป้ายทะเบียนหายไปแล้ว วันนี้ #ไมค์คาร์ แกลเลอรี่ จะพาเพื่อน ๆ ไปหาความรู้ในเรื่องนี้กัน

 

ป้ายทะเบียนรถหาย ไม่ต้องแจ้งความ

            หากแผ่นป้ายทะเบียนรถของเราหาย สามารถยื่นขอรับแผ่นป้ายทะเบียนรถทดแทนที่ กรมขนส่งได้เลย โดยไม่ต้องแจ้งความ ซึ่งจะมีค่าธรรมเนียมแผ่นป้ายละ 100 บาท ค่าคำขอ 5 บาท และจะได้รับแผ่นป้ายทะเบียนรถภายใน 15 วันทำการ โดยระหว่างนี้ สามารถใช้ใบเสร็จรับเงินแทนแผ่นป้ายทะเบียนรถชั่วคราวได้

            หากไม่มีการติดแผ่นป้ายทะเบียน จะมีความผิด ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 11 “รถที่จดทะเบียนแล้ว ต้องมีและแสดงแผ่นป้ายและเครื่องหมายครบถ้วนถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง” หากฝ่าฝืน มีโทษตามมาตรา 60 ปรับสูงสุดไม่เกิน 2,000 บาท

 

เอกสารยื่นขอป้ายทะเบียนรถใหม่

  • เล่มทะเบียนรถตัวจริง
  • บัตรประชาชนของเจ้าของรถ (กรณีเจ้าของรถต้องดำเนินการด้วยตนเอง)
  • หนังสือมอบอำนาจ พร้อมสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (กรณีที่เจ้าของไม่สามารถดำเนินการได้ด้วยตัวเอง)

สำหรับกรณีที่รถติดไฟแนนซ์ (เจ้าของรถต้องดำเนินการด้วยตนเอง)

  • เล่มทะเบียนรถตัวจริง
  • บัตรประชาชนของผู้เช่าซื้อ
  • หนังสือรับรองจากบริษัทไฟแนนซ์
  • หนังสือมอบอำนาจจากไฟแนนซ์ พร้อมสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ

 

สำหรับกรณีนิติบุคคล

  • เล่มทะเบียนรถตัวจริง
  • หนังสือรับรองจดทะเบียนนิติบุคคล ไม่เกิน 1 ปี
  • สำเนาบัตรประชาชนผู้มีอำนาจลงนาม
  • หนังสือมอบอำนาจ พร้อมสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ

 

ป้ายทะเบียนมีกี่แบบกัน!?

            ป้ายทะเบียนในท้องถนนที่ขับกันโดยทั่วไปที่คุณสามารถพบเห็นได้นั้นมีทั้งหมด 10 ประเภทด้วยกัน หลักๆแล้วคุณคงเคยเห็นสีขาว เหลือ หรือเขียวใช่มั้ยล่ะ แต่ความจริงแล้วยังมีสีอื่น ๆ ที่แตกต่างออกไปในแต่ละแบบด้วยนะ

1. ป้ายสีขาวสะท้อนแสง (ตัวหนังสือสีดำ) – รถยนต์ที่นั่งส่วนบุคคล ไม่เกิน 7 ที่นั่ง เช่น รถเก๋ง และรถยนต์ทั่วไป

2. ป้ายสีขาวสะท้อนแสง (ตัวหนังสือสีน้ำเงิน) – รถยนต์ที่นั่งส่วนบุคคล ที่นั่งมากกว่า 7 ที่นั่ง เช่น รถตู้ เป็นต้น

3. ป้ายสีขาวสะท้อนแสง (ตัวหนังสือสีเขียว) – รถบรรทุกส่วนบุคคล คือรถกระบะ แต่บางคันที่เป็นป้ายสีดำ แสดงว่าตอนจดทะเบียนนั้น จดเพื่อเป็นรถยนต์ที่นั่งส่วนบุคคลเท่านั้น 

4. ป้ายสีเหลืองสะท้องแสง (ตัวหนังสือสีดำ) – รถยนต์รับจ้าง ที่สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ไม่เกิน 7 คน หรือ รถจักรยานยนต์รับจ้าง เป็นต้น

5. ป้ายสีเหลืองสะท้อนแสง (ตัวอักษรสีแดง) – รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด

6. ป้ายสีเหลืองสะท้อนแสง (ตัวอักษรสีน้ำเงิน) – รถยนต์เล็ก 4 ล้อรับจ้าง

7. ป้ายสีเหลืองสะท้อนแสง (ตัวอักษรสีสีเขียว) – รถสามล้อรับจ้าง

8. ป้ายสีเขียวสะท้อนแสง (ตัวอักษรเป็นสีขาว/ดำ) – รถบริการทัศนาจร และรถบริการให้เช่า

9. ป้ายสีส้มสะท้อนแสง (ตัวอักษรใช้สีดำ)รถพ่วง รถแทรกเตอร์ และรถที่ใช้ในทางเกษตรกรรม

10. ป้ายทะเบียนรถพื้นแผ่นป้ายเป็นสีขาว (ไม่สะท้อนแสง) (ตัวอักษรเป็นสีดำ) – รถยนต์ของคณะผู้แทนทางการทูต จะขึ้นต้นด้วย ท และตามด้วยรหัสประเทศ ขีด แล้วถึงจะเป็นเลขทะเบียนรถ

 

            กฎหมายในปัจจุบันที่คุณและคนทั่วไปควรทราบอยู่แล้วว่า หากใช้รถโดยไม่มีแผ่นป้ายทะเบียนนั่นมีความผิด รถของคุณอาจเข้าข่ายความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 7 ห้ามมิให้ผู้ใดนำรถที่มิได้ติดแผ่นป้ายเลขทะเบียน แผ่นป้ายเครื่องหมายเลขทะเบียนหรือป้ายประจำรถ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ กฎหมายว่าด้วยการขนส่ง กฎหมายว่าด้วยล้อเลื่อน กฎหมายว่าด้วยรถลาก หรือกฎหมายว่าด้วยรถจ้าง มาใช้ในทางเดินรถ

บทความอื่นที่ใกล้เคียง

เพราะรอยยิ้มของคุณ คือความสุขของเรา

ไส้กรองอากาศ ตรวจเช็กง่ายๆ ด้วยตัวเอง

ไส้กรองอากาศ มีหน้าที่ เปรียบเสมือนจมูกของคนเราเนี่ยแหละค่ะ หากสูดอากาศที่มีแต่เศษฝุ่นเข้ามาก ๆ ก็ไม่ดีต่อร่างกาย ไส้กรองอากาศจะค่อยดักจับฝุ่นละอองและสิ่งสกปรกไม่ให้เข้าไปภายในเครื่องยนต์ ซึ่งเมื่อใช้งานไปนาน ๆ อาจจะทำให้เกิดการอุดตัน อากาศผ่านเข้าไปในกระบอกสูบได้น้อยลง และทำให้การเผาไหม้ในห้องเครื่องยนต์ไม่สมบูรณ์ อายุการใช้งานของไส้กรองอากาศจะสั้นหรือยาว ขึ้นอยู่กับการใช้งานของแต่ละบุคคล และสภาพแวดล้อมเป็นหลัก โดยปกติทางบริษัทรถยนต์ กำหนดให้เราเปลี่ยนไส้กรองอากาศทุก ๆ 20,000-40,000 กิโลเมตร

scroll up